มือแม่ด้าน หน้าแม่ดำ ทำเพื่อลูก
รักแม่ปลูก ข้าวแม่ป้อน พรแม่ให้
ตาคอยคู หูคอยฟัง ระหวังภัย
ปากกล่อมใจ เกลาจิต ให้คิดถึง
ความทุกข์ของพ่อแม่นั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. ทุกข์เพราะไม่มีลูกชายหญิง พ่อแม่หลายคนไม่มีลูกรู้สึกทุกข์ ๒. ทุกข์เพราะลูกตายพ่อแม่หลายคนมีลูกแล้ว แต่ลูกตายจากก็รู้สึกทุกข์ ๓. ทุกข์เพราะลูกชั่วพ่อแม่หลายคนมีลูกแล้ว แต่ลูกประพฤติไม่ดีพ่อแม่รู้สึกทุกข์หนักกว่าลูกอีก แม่เลี้ยงลูกมาตั้งแต่เล็กจนโต แม่ขอสามอย่างกับลูกได้ไหม ลูกจะให้แม่ได้ไหม แม่ขอเพียงสามอย่างกับลูกเท่านั้น
ยามแก่เฒ่า หมายเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามเจ็บไข หมายเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อยามจะ ต้องตาย วายชี
หวังลูกยา ช่วยปิดตา เมื่อสิ้นใจ
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553
คำกลอนนะครับ
๑.ตั้งอกตั้งใจ ตั้งไว้ให้ดี ตั้งแต่บัดนี้ ขอจงตั้งใจ
ตั้งตัวตั้งต้น ตั้งตนตั้งมั่น ฝึกฝนฝ่าฝัน ฝ่าฟันฝันใฝ่
อมรมบ่มเพาะ เจาะจิตเจาะใจ ส่งเสริมสอดไส้ สวมใส่ศีลธรรม ฯ
๒.จงก้าวไปแม้ไฟจะไหม้โลก จงก้าวไปแม้โชคจะอับเฉา
จงก้าวไปแม้ใครจะด่าเรา จงก้าวไปแม้ใครจะนินทา ฯ
๓.รอยยิ้มเย็น ๆ เป็นแบบอย่าง สรรสร้างไมตรีดีหนักหนา
รอยยิ้มเย็น ๆ เป็นตัวยา ช่วยรักษาแผลจิตถอนพิษใจ ฯ
ตั้งตัวตั้งต้น ตั้งตนตั้งมั่น ฝึกฝนฝ่าฝัน ฝ่าฟันฝันใฝ่
อมรมบ่มเพาะ เจาะจิตเจาะใจ ส่งเสริมสอดไส้ สวมใส่ศีลธรรม ฯ
๒.จงก้าวไปแม้ไฟจะไหม้โลก จงก้าวไปแม้โชคจะอับเฉา
จงก้าวไปแม้ใครจะด่าเรา จงก้าวไปแม้ใครจะนินทา ฯ
๓.รอยยิ้มเย็น ๆ เป็นแบบอย่าง สรรสร้างไมตรีดีหนักหนา
รอยยิ้มเย็น ๆ เป็นตัวยา ช่วยรักษาแผลจิตถอนพิษใจ ฯ
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบจลาจลภายในกรุงธนบุรีและสร้างความมั่นคงภายในประเทศแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่ากรุงเทพฯ ทั้งนี้เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายอาณาเขตของพระราชวังให้กว้างขวางขึ้นได้
2. พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้พระนครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเป็นเสมือนเมืองอกแตก ดังเช่น เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี เพราะหากข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำ ก็สามารถบุกตีใจกลางเมืองหลวงได้ ทำให้ยากแก่การป้องกันพระนคร ครั้นจะสร้างป้อมปราการทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองมาก ทำให้ยากแก่การเคลื่อนพลจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากลำบากมาก ดังนั้นพระองค์จึงย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดียว โดยมีแม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกและทางด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้นเพื่อเป็นคูเมืองป้องกันพระนคร
3. พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อยๆ ตรงบริเวณที่ตั้งพระนครพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง
4. ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใดๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีรับสั่งให้สร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณหัวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”
ในการสร้างพระมหาบรมราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นภายในด้วย คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐาน ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กรุงเทพฯ
พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย
ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์ ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้
คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้
กระบวนการศึกษาอบรม
กระบวนการศึกษาอบรมเป็นการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการสั่งสอนฝึกฝนอบรมบ่มนิสัย ด้วยวิธีการอย่างหลากหลายต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิต ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงไม่ใช่ แต่คอยรับการสั่งสอน ฝึกฝนอบรมจากผู้อื่นแต่จะต้องเรียนรู้เพื่อรู้วิธีเรียน ค้นหา สร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การเรียนรู้จากครูซึ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลักในการสอน ย่อมไม่เพียงพอสำหรับการ ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม เป็นไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนอาจล้าสมัยในเวลาไม่มากนักและเพื่อเป็น การสร้างมิติใหม่ทางการศึกษา 100 % “ การศึกษาตลอดชีพ ” และ “ สังคมแห่งการ เรียนรู้ ” หนทางที่จะนำไปสู่มิติดังกล่าวได้ก็โดยวิธีการสอนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายและยืดหยุ่น ได้เรียนรู้จากครู ผู้ปกครอง ชุมชน และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ของตนเอง เหตุผลที่สนับสนุนให้นำวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาใช้ในโรงเรียน มีดังนี้ ( เลอพงศ์ เทพไชย : 2542 )
1. ความรู้และความจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในโลกถูกค้นพบใหม่เสมอ ความ เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในสังคมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้เรียนจึงต้องรู้ วิธีที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยเตรียมให้พร้อมที่จะเผชิญกับชีวิตจริงเพราะ ลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ลงมือปฏิบัติ ได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ ทักษะการบริหาร การจัดการ การเป็นผู้นำผู้ตาม และที่สำคัญเป็นการ เรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียนมากที่สุดวิธีหนึ่ง
3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนความเป็นประชาธิปไตย ฝึกการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ต่อครู ต่อสถานศึกษา และต่อสังคม
4. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยลดปัญหาทางวินัยในชั้นเรียน ทั้งนี้เพราะ นักเรียนทุกคนจะได้ฝึกฝนกระทั่งเกิดวินัยในตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับการ ยอมรับจากครู จากเพื่อน ๆได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆทำให้เกิดการยอมรับตนเอง เกิดความสุขในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆปัญหาทางวินัยจึงลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด
5. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของ ผู้เรียนทั้งชั้นสูงขึ้น การช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่ง ที่เรียนได้ดีขึ้น
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับ ชีวิตจริง ได้รับการฝึกฝน ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการบันทึกความรู้ ทักษะ ความคิด ทักษะการจัดการกับความรู้ ทักษะการแสดงออก ทักษะการสร้างความรู้ใหม่ และทักษะในการทำงานกลุ่ม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปสู่การเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ครู ผู้ปกครอง และสังคมปรารถนาอย่างยิ่ง ครูจึงต้องแสวงหาแนวทางที่จะนำเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)