วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธีกรประกวดนางนพมาศวันลอยกระทงตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ ปี๒๕๕๔

พิธีกรคู่กับคุณครูชญาภา กิ่งรัตน์ ครูโรงเรียนบ้านท่าคอยนางครับ
ถ่ายเดี่ยวครับเตรียมตัวขึ้นเวทีแล้วครับ

ถ่ายกับน้องอุ๊ครับ ให้กำลังใจก่อนขึ้นเวที
ภาคกลางวันร่วมกิจกรรมในขบวนแห่ครับ โดยหมู่บ้าน โรงเรียน วัด ในเขตตำบลกู่ร่วมด้วยช่วยอนุรักษ์วัฒธรรมประเพณีที่ดีให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปครับ
บริเวณที่ปราสาทปรางค์กู่ครับ หลังจากบวงสรวงเทพเทวา และพ่อปู่พัทธเสนประจำปราสาทปรางค์กู่แล้วถ่ายรูปกับคนดังครับ ท่านร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธิ์ ผู้ปลูกต้นไม้ให้กับพี่น้องชาวอำเภอปรางค์กู่เป็นล้านๆต้นครับ


วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครูธนากร พรมลิ โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ: เที่ยวทำบุญงานแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

ครูธนากร พรมลิ โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ: เที่ยวทำบุญงานแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

เที่ยวทำบุญงานแห่เทียนพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ




ทำบุญวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาครับ

 นั่งสมาธิ เจริญจิตภาวนากับนักเรียน
นำกล่าวถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนครับ
สรุปความสำคัญของวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม1 ค่ำ เดือน 8 ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันที่ 15 ค่ำ เดือน 11 )  1 วันเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญจวัคคีย์ ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้  และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ธรรมจักษุ ( โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน ) ควงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่าสิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดาแล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์ ในวันนี้ของทุกๆปีเวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และพุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ  และพุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่าวันพระสงฆ์ก็มี อาสาฬหะคือ เดือน 8  อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน 8
        วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่
ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา (พรรษา แปลว่า
ฤดูฝน , จำ แปลว่า อยู่ ) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11หรือวันออกพรรษา
ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำ
พรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ
ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆแม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธ
เจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุสงฆ์ประจำอยู่ที่วัด
รวบรวมโดย ครูธนากร  พรมลิ
โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง ปีการศึกษา2554

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บุญเบิกฟ้าเดือนสาม ชาวกูย บ้านกู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ


งานประเพณีหวัวบุญเบิกฟ้า
       งานบุญเบิกฟ้า ช่วงเวลา วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓  (อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์) เป็นงานเฉลิมฉลองในช่วงต้นฤดูการทำนาเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของอีสาน ในงานจัดให้มีขบวนแห่บุญเบิกฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระแม่โพสพ เรื่องของพานบายศรีสู่ขวัญ ตลอดจนวัฒนธรรม การละเล่น ดนตรีพื้นบ้าน และพิธีกรรมต่าง ๆ
ความสำคัญ
        ประเพณี บุญเบิกฟ้า เป็นประเพณีที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอกตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยง การเกษตรในปีนั้น ๆ





วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครูธนากร พรมลิ โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง เป็นวิทยากรเยาวชนตำบลกู่

ครูธนากร พรมลิ โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง เป็นวิทยากรเยาวชนตำบลกู่


นำนักเรียนไปทัศนศึกษาที่นครราชสีมาครับ






โรงเรียนบ้านหนองบัวตาคง จัดโครงการทัศนศึกษา ปีการศึกษา๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๗ ก.พ. ๕๔ ณ อุทยานปราสาทหินพิมาย พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมาย อุทยานแหล่งเรียนรู้วัดป่าหลักร้อย นครราชสีมา
                                                                                                        
                                                                                                          รายงานโดย คุณครูธนากร พรมลิ