Prasat Prngku is religious place which affected from Khmer art to located at Ban Ku, Ku sub-district, Prangku district, so far away from the city about 65 km. Fine Arts Department published to register the archaeological of the government gazette for book 52, section 75 on 8 March 1935 and specify zone of the religious place about 12 areas 2 unit 39 square two-meters, the government gazette for book 99, section 156 on 21 October 1982.
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
การปรับตัวของชาวนา กับวิกฤติภัยแล้ง
หลายพื้นที่ในอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มประสบปัญหาภาวะน้ำแล้ง กระทบต่อการทำนา
วันนี้ 1 มิ.ย.62 หลายพื้นที่ในอำเภอปรางค์กู่ และอำเภอใกล้เคียง ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำได้รับความเดือดร้อนหนัก โดยเฉพาะในเขตตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรขาดน้ำในการทำการเกษตร กำลังได้รับความเดือดร้อน เพราะฝนทิ้งช่วงมาหลายสัปดาห์ ต้นข้าวยืนต้นตาย
ขณะนีี้ภัยแล้งที่กระหน่ำนาข้าวทั้งตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงต้องแห้งเหี่ยวยืนต้นตายหลายพื้นที่ หลายพื้นที่ยังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง
แต่สำหรับเกษตรกรบางราย ที่มีแหล่งน้ำพอที่จะสูบนำ้ใส่นาข้าว
ภาวะวิกฤติภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้กับชาวนาและเกษตรกรในปีนี้ ไม่ใช่ภาวะชั่วครั้งชั่วคราว แต่เป็น
วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
"ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ไหว้ ท่านท้าวพ่อปู่พัทธเสน ปราสาทปรางค์กู่"
สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและผู้ที่มีความเชื่อทั้ง ๓ หมู่บ้าน ได้ร่วมกันนำเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษและบูชาเทพแม่ธรณีไปทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและบูชาเทพ แม่ธรณี ณ ปราสาทปรางค์กู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เหมือนทุกปีที่ผ่านมา
หรือบางหมู่บ้านจะประกอบพิธีไหว้ปู่ตาประจำหมู่บ้าน เพื่อความสมบูรณ์ของธัญญาหาร และความร่มเย็นของหมู่บ้าน (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) เป็นประเพณี ที่สืบทอดนานกว่าหลายร้อยปีมาแล้ว ของชาวบ้านที่นี่
ปีนี้ ตรงกับวันที่ 7ก.พ.62 ชาวบ้านจะนำเอาไก่ต้ม1ตัวข้าว 1 ถ้วย เหล้าขาว 1 ขวด น้ำส้ม 1 ขวด ดอกไม้ ธูป เทียน มาเป็นของเซ่นไหว้ หลังจากเซ่นไหว้เสร็จแล้ว จะมีการเสี่ยงทายโดยดูคางไก่ ถือกันว่า ครอบครัวใดได้มีโอกาสปฏิบัติและร่วมพิธี ครอบครัวจะมีความสุข อุดมสมบูรณ์ จะประกอบสิ่งใดก็จะ ประสบแต่ความสำเร็จทั้งในชีวิตการงานและครอบครัว
หวัวบุญเบิกฟ้า เป็นชื่องานประเพณีชาติพันธุ์ชนชาวกูย,กวย ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเวลาวันที่ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี (อยู่ระหว่างปลายเดือน มกราคม - ต้นเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี)
คำว่า หวัวบุญเบิกฟ้า(คำว่า หวัว หรือ วอ เป็นภาษาพูดของชนชาวกูย,กวย(ส่วย) ใช้ในการสื่อสารของชาวกูย กวย(ส่วย) หมายถึง การกระทำ)
คำว่า หวัวบุญเบิกฟ้า(คำว่า หวัว หรือ วอ เป็นภาษาพูดของชนชาวกูย,กวย(ส่วย) ใช้ในการสื่อสารของชาวกูย กวย(ส่วย) หมายถึง การกระทำ)
เป็นชื่องานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่า พื้นดิน มีพระคุณต่อมนุษย์ เพราะนอกจากพื้นดินจะให้ที่อยู่อาศัยแก่มนุษย์แล้ว ดินยังมีบุญคุณต่อคนที่ให้อาหารเลี้ยงดูมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น ชนชาวกูย,กวย ตำบลกู่ จึงจัดพิธีบวงสรวง เซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทวดาเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน
โดยมีสำนึกที่ว่า พื้นดิน มีพระคุณต่อมนุษย์ เพราะนอกจากพื้นดินจะให้ที่อยู่อาศัยแก่มนุษย์แล้ว ดินยังมีบุญคุณต่อคนที่ให้อาหารเลี้ยงดูมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น ชนชาวกูย,กวย ตำบลกู่ จึงจัดพิธีบวงสรวง เซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทวดาเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน โดยมีสำนึกที่ว่า เมื่อดินเป็นผู้ให้อาหารหรือผลิตผลอาหารแก่มนุษย์ มนุษย์จึงต้องรู้จักทดแทนบุญคุณ โดยจัดการบำรุงดินด้วยการให้อาหารแก่ดินเป็นการตอบแทน อาหารของดินคือปุ๋ย ชาวกูย,กวย ตำบลกู่เห็นว่า ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์มีแร่ธาตุ ที่ดินต้องการเพื่อจะให้ความเจริญแก่พืชที่เกิดจากดิน ดังนั้น ชนชาวกูย,กวย ตำบลกู่ จึงจัดให้มี วันสู่ขวัญข้าวเปลือกและเติมปุ๋ยให้แก่ดิน ในวันที่ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)