นักพัฒนาสังคม (change agent of society) คือ นักเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทาง
ที่พึงปรารถนา สังคมที่พึงปรารถนาประกอบด้วยสังคมที่มีความยุติธรรม (justice)
สังคมที่มีความ เสมอภาค (equality) สังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกัน (solidarity)
และเป็นสังคมที่มีสมาชิก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการเสียสละ จริงใจ
(participation) เพื่อให้สังคมได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางดังกล่าว
จำเป็นต้องพัฒนานักพัฒนาสังคมให้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่พึงปรารถนา
การพัฒนาตนเอง
นักพัฒนาจะต้องมีตัวตนที่ได้รับการฝึกอบรมและการพัฒนาเป็นพื้นฐานมาก่อน เป็น
ความจริงที่ว่า ก่อนการพัฒนาใครจะต้องพัฒนาตนเองก่อน
ถ้าตนเองไม่ได้รับการพัฒนาเป็นการ ยากที่จะพัฒนาคนอื่น
พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตนเองสูงมาก
การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน
การทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การทำงานสุจริต เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมและสนับสนุน ให้ทำอย่างสม่ำเสมอ
การทำงานที่มีผลตอบแทนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีงาม ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เหมาะสม
เรียกว่า สัมมาอาชีพ ตรงกันข้าม
การทำงานที่มีผลตอบแทนด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม และมีผลทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน
เรียกว่า มิจฉาอาชีพ
พระพุทธศาสนาให้คุณค่าแก่การทำงานสุจริตสูงมาก
การทำงานทำให้ผู้ทำมีคุณค่าและคุณประโยชน์
การทำงานทำให้ผู้ทำมีโอกาสพัฒนาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เข้าใจบุคคลอื่น โดย
ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางการทำงาน ทำให้ผู้ทำมีรายได้ผลตอบแทน
ช่วยทำให้ชีวิตอยู่รอดการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน ตามหลักพระพุทธศาสนา
ต้องดำเนินตามขั้นตอน๕ อย่าง คือ
๑. ความรักในงาน (ศรัทธา)
๒. ความกตัญู (กตัญูกตเวทิตา)
๓. ความรู้ความเข้าใจระบบการทำงาน
(กิจจญาณ)
๔. ความสามารถในการทำงาน (วสี)
๕.
การมีปัญญารู้จักประเมินผลการทำงาน (วิมังสา)
การพัฒนามนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์ คือ
ความรักในการติดต่อกับคนอื่นด้วยจิตใจเต็มไปด้วยไมตรี ผู้นำที่ดี
จะต้องมีความรักในเพื่อนมนุษย์ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง
ความรักในมนุษย์เป็น ก้าวแรกในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ปราศจากความรักในเพื่อนมนุษย์จะไม่เกิดมนุษยสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น