วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลาย

ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านตำบลกู่ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านต้นแบบ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย เพราะการอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเอง  และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  

ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม  การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือแล้วโดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก  สาเหตุมีอยู่       หลายประการ นับตั้งแต่  การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน  การขาดแคลนแหล่งหนังสือ   ที่จะยืมอ่านได้  ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่นๆ เช่น  โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียงฯลฯ วิทยุกระจายเสียง   รวมทั้งขาดการชักจูง  การกระตุ้น  และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน  เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่างๆจากโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียงแล้ว  



การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่า  และต้องมีทักษะในการอ่าน  ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิด ความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน  ซึ่งมีกิจกรรมในลักษณะดังนี้
          ๑เร้าใจให้เกิดความอยากอ่านหนังสือ



          ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ  และน่าสนุก ตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
          แนะนำ  กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่างๆเกิดความรอบรู้คิดกว้างมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย


          สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน  รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน  มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ
       ซึ่งที่ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านตำบลกู่ กำลังเคลื่อนงานในประเด็นต่างๆมากมาย โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  นับว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยให้การมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นแรงจูงใจ ให้ผู้อ่านได้อ่านอย่างมีความสุข  

วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านจะจัดการเรียนรู้แบบไหนที่คุณคาดหวังในการเรียนรู้

ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านจะจัดการเรียนรู้แบบไหนที่คุณคาดหวังในการเรียนรู้ 


                 ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่นั้น ได้ประสานงานร่วมกับภาคีหลายหน่วยงาน ให้เกิดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมอื่นๆภายในศูนย์และนอกศูนย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การพัฒนาความคิดและความสามารถ โดยอาศัยประสบการณและปฏิสัมพันธระหวางผูเรียนและ สิ่งแวดลอม ภายในชุมชน


                 นายธนากร พรมลิ ผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ ภาคีศูนย์การเรียนรู้ใกล้บ้าน กล่าวว่า ที่นี่ เน้นจัดการเรียนรูเสมือนใหผูเรียนรักการเรียน ตั้งใจเรียน และเกิดการเรียนรูขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว เพราะศูนย์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตั้งอยู่ใกล้บ้านในชุมชน 



การเรียนของผูเรียนจะไปสูจุดหมายปลายทาง คือ ความสําเร็จในชีวิต หรือไมเพียงใดนั้น ยอมขึ้นอยูกับการจัดการเรียนรูที่ดีของผูสอน หรือผูสอนดวยเชนกัน หากแต่กิจกรรมที่นี่จัดึ้นให้ตามความต้องการองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัยและแต่ละกิจกรรมผูสอนรูจักเลือกใชวิธีการจัดการเรียนรูที่ดีและเหมาะสมแลว ยอมจะมีผลดีตอการเรียนรู้ได้อย่างดีแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน “ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่” ศรีสะเกษ

                      เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน  ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่” โดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วม ส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์การเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ ในระดับตำบลให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและสร้างสรรค์



                                 เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย และเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะเป็นรากฐานในการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมส่งเสริมการเกษตร



          ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่เริ่มตั้งมาเมื่อปี ๒๕๕๘  ตั้งอยู่ที่อาคารที่ทำการกำนันตำบลกู่ บ้านกู่ หมู่ ๑ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  ให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอดเวลา   เพราะในชุมชนโดยรอบ มีทุนทางสังคมที่หลากหลาย นอกเหนือจากการบริหารจัดการให้เด็กๆเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดูแลศูนย์ และร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในศูนย์แห่งนี้ ยังได้ประสานงานความร่วมมือกับมหาวิทยาลุยราชภัฏศรีสะเกษ คณะมนุษยศาสต์และสังคมศาสตร์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษา ทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และเทคนิคการวาดภาพ ผ่านงานศิลปะ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ ให้กับเด็กๆเยาวชน มีหนังสื่อมากมายหลายรูปแบบ ให้ประชาชนได้มาเลือกอ่านหาความรู้ได้ตลอด เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ






 ได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในฐานะเป็นแหล่งการเรียนรู้ใกล้บ้าน ความรู้จะไปสู่ประชาชนที่มาใช้บริการ 

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่กับการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชน

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กับการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพในชุมชน


           เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ผ่านธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จากศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ ในการกำกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ผ่านระบบการซื้อขายออนไลน์ รวมถึงการกระจายสินค้าไปยังผู้ซื้อ หรือ อี โลจิสติกส์ รวมถึงระบบการชำระเงิน หรือ อี เพลย์เม้น ทั้งชำระด้วยเงินสด และออนไลน์หรือเก็บเงินปลายทาง 


               โดยจะมีการฝึกอบรมให้กับชาวบ้านและร้านค้าชุมชนจำนวน ๓๐ ร้านค้าหรือกลุ่มร้านค้า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศไทยต่อไป

E-Commerce ชุมชน

E-Commerce
1.การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อผลิตภัณฑ์กับร้านค้าชุมชน
2.การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) 
3.การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) 
4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกัน


ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต 

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เตรียมจัดอบรมการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่เตรียมจัดอบรม ในวันที่เสาร์ อาทิตย์ ช่วงเดือนกันยายน2560ตลอดทั้งเดือน ให้แก่เด็กเยาวชน เพื่อให้ให้เข้าใจการเรียนรู้ การใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและจริยธรรมในลักษณะการเรียนการสอนที่เยาวชนได้รับสาระและสนุกกับการเรียนรู้ 




เนื้อหา :
§  การพัฒนาและแนวโน้มของดิจิตอล  ICT
§  การเรียน การเล่น การเข้าสังคมในยุคดิจิตอล
§  การค้นหาข้อมูล การแสวงหา การตรวจสอบความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
§  ความรู้ในยุคดิจิตอล การเรียน การนำเสนอ การประยุกต์ใช้ความรู้
§  การใช้ไอซีทีอย่างปลอดภัย การป้องกันตนเอง การสร้างคุณค่าให้ตนเองและสังคม
§  เครือข่ายสังคม ข่าวสาร การให้ข่าวสาร การรับรู้ข่าวสาร ความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์
§  สังคมออนไลน์ ปัญหาสังคม ผลกระทบ
การปฏิบัติตนตามกฎหมายไอที การแจ้งเหตุปัญหา การช่วยเหลือปกป้องสังคม โดยมีเป้าหมายการสร้างเครือข่ายเด็กเยาวชนจิตอาสาในชุมชนเพิ่มมากกว่าเดิม

อบรมการจัดทำข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ

       ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 
จัดฝึกอบรมการจัดทำข้อมูลและองค์ความรู้ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ 


การดำรงชีวิตของคนในชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น 



และสารสนเทศ (Community Content Creation) 



ในด้านต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการตัดสินใจของคนในชุมชน 
ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนคืออะไร

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนคืออะไร

           ศูนย์ดิจิทัลชุมชน คือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ได้รับการยกระดับ และปรับบทบาทจากการลดความเหลื่อมล้ำมาเป็นการสร้างคุณค่า เพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน (๑ ปี ๖ เดือน) เน้นการให้บริการชุมชนในกิจกรรมหลักๆ ได้แก่

  • ให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริมการซื้อขายออนไลน์ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมออนไลน์
  • จัดอบรมเพื่อบ่มเพาะความรู้ด้านการค้าขายออนไลน์แบบครบวงจร ได้แก่ การค้นหาข้อมูล การเปิดร้าน การถ่ายและตกแต่งภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ การชำระเงิน การส่งของ และการสื่อสารกับลูกค้า
  • อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ อุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น แนะนำการใช้งานและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
  • แนะนำบริการภาครัฐ และบริการเชิงดิจิทัลที่น่าสนใจ
  • ให้บริการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับการทำงานร่วมกันของชุมชน รวมถึงจัดให้มีอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานตัดต่อ แท็บเล็ต เครื่อง multifunction และ Free WiFi เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชน
  • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะเนื้อหาด้านอาชีพ การดูแลสุขภาพ ติวเตอร์ การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล และความรู้อื่นๆ ผ่านสื่อดิจิทัล เช่น ThaiMOOC หรือรายการโทรทัศน์ของภาครัฐของ ทก.


ศูนย์ดิจิทัลชุมชนจะมี ๖๐๐ แห่ง กระจายตัวในทุกจังหวัดของประเทศ ทำการคัดเลือกจากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่มีผลการดำเนินงานระดับ A และ B มีบริบทที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของชุมชน เช่น มีผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือมีคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นผู้ประกอบการใหม่ ประชาชนมีความต้องการและจำเป็นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตประจำวัน


ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร

  1. สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบ และได้รับประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสร้างคุณค่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้โดยตรง
  2. ผู้ประกอบการชุมชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน มีโอกาส และมีตลาดเพิ่มมากขึ้นจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและตลาดออนไลน์ และดำเนินการค้าขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรและค้าขายได้จริง และมีตัวตนในตลาดโลก
  3. มีแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์การสื่อสารดิจิทัลเอื้อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  4. เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
  5. เปิดโลกทัศน์ และมุมมองสากลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
  6. มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำข้อมูลข่าวสาร บริการ และสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะจากภาครัฐ
  7. ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าฝึกอบรม ค่าเดินทาง 

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รางวัลแห่งความมุ่งมั่น ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

                 เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ นี้มอบให้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ในฐานะ ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้านต้นแบบ ด้วยความมุ่งมั่น นำความรู้สู่ชุมชน 23 ส.ค.60 ขอบคุณครับ
              ผลจากการจัดกิจกรรม 
จัดอบรม คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น การค้าออนไลน์ การใช้งานดิจิทัลในยุคปัจจุบัน การรู้เท่าทันสื่อ




การอบรมมัคคุเทศก์น้อย ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เป็นศูนย์บริการข้อมูลในระดับตำบล อำเภอ แหล่งจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านออนไลน์ จุดรับส่งหนังสือระดับตำบล 17 หมู่บ้าน ที่ประชุมงานของทุกหน่วยงาน (ขนาดเล็ก) แหล่งหาข้อมูล เรียน เขียน อ่าน ของนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ (เด็ก นศ. มาทำโครงงาน งานวิจัย)





     ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่  นับเป็นศูนย์ฯ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมดำเนินงานกันอย่างใกล้ชิด โดยการแบ่งภารกิจตามความสามารถและเหมาะสม เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ที่สนใจเรียนรู้และเข้ามาร่วมกิจกรรมด้านอื่นๆ จนสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

ด้วยชุมชนตำบลกู่ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ขึ้น ทำให้สามารถช่วยแก้ปัญหาและยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น


ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ชาวบ้าน ประชาชน เด็กเยาวชน ทุกกลุ่มวัย เข้ามาใช้งานและนำไปพัฒนา ต่อยอดจากการผลิตผ้าไหมการทำการเกษตร  เกิดการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ มีช่องทางการขายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน และสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น จึงแก้ปัญหาการตลาดได้

 เกิดเยาวชนจิตอาสา สำนึกรักชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ เป็นการสร้างความรักชุมชน ให้เด็กเยาวชนอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข ใช้ประโยชน์และ มีเครือข่ายชุมชนที่มีขีดความสามารถในการเสริมพลังและบูรณาการเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สื่อการเรียนรู้ ที่อยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ความเป็นมาศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ ปีที่เริ่มจัดตั้งศูนย์ พ.ศ.2559
ลักษณะทางกายภาพ

      กว้าง10 เมตร ยาว 10 เมตร 
บริการของศูนย์
     หนังสือ/สื่อการเรียนรู้/การบริการอินเตอร์เน็ต wifi /การค้าออนไลน์ /
  หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชน หมู่บ้าน วัด ประวัติปราสาทปรางค์กู่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แผนชุมชน ข้อมูลกลุ่มอาชีพ หนังสืองานวิจัยที่ชุมชนทำการวิจัยร่วมกับ สกว.

     กิจกรรม
 จัดอบรม คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น การค้าออนไลน์ การใช้งานดิจิทัลในยุคปัจจุบัน การรู้เท่าทันสื่อ การอบรมมัคคุเทศก์น้อย ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เป็นศูนย์บริการข้อมูลในระดับตำบล อำเภอ แหล่งจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านออนไลน์ จุดรับส่งหนังสือระดับตำบล 17 หมู่บ้าน ที่ประชุมงานของทุกหน่วยงาน (ขนาดเล็ก) แหล่งหาข้อมูล เรียน เขียน อ่าน ของนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ (เด็ก นศ. มาทำโครงงาน งานวิจัย)

     สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตไร้สาย ฯลฯ)

คอมพิวเตอร์ 16 เครื่อง อินเตอร์เน็ตwifiความเร็วสูง โต๊ะนั่งประชุมงาน

 “ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ศูนย์ต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ


          ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่เริ่มตั้งมาเมื่อปี ๒๕๕๘  ตั้งอยู่ที่อาคารที่ทำการกำนันตำบลกู่ บ้านกู่ หมู่ ๑ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายทนงศักดิ์  นรดี  กำนันตำบลกู่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีนายธนากร พรมลิ เป็นผู้จัดการศูนย์ ตามบทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  บทบาทสำคัญของศูนย์ฯแห่งนี้ อาทิ เปิดการเรียนการสอนการทำแฟนเพจเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า การอบรมการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการค้าขายออนไลน์ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ   และเป็นฐานข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้เด็กนักเรียนนักศึกษาได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอดเวลา   เพราะในชุมขนโดยรอบ มีทุนทางสังคมที่หลากหลาย นอกหนือจากการบริหารจัดการให้เด็กๆเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดูแลศูนย์ และร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในศูนย์แห่งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ ให้กับเด็กๆเยาวชน ไปสู่ประชาชนที่มาใช้บริการ จนได้รับการคัดเลือกให้ยกระดับเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ โดยการดูแลของสำนักงานสิถิติจังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์และได้ดำเนินการขยายผลโดยการจัดอบรมการใช้สมาร์ทโฟน การทำแฟนเพจเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า 

             “การสร้างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างแท้จริง เนื่องจากชุมชนแห่งนี้มีพื้นที่เหมาะสมกับการเปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ มีความตื่นตัวและตอบรับในการที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใช้ในการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ตลอดจนการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี


             ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่  นับเป็นศูนย์ฯ ที่เกิดจากความร่วมมือตามแนวทางประชารัฐที่ร่วมดำเนินงานกันอย่างใกล้ชิด โดยการแบ่งภารกิจตามความสามารถและเหมาะสม เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ที่สนใจเรียนรู้และเข้ามาร่วมกิจกรรมด้านอื่นๆ จนสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี