วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความเป็นมาศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ ปีที่เริ่มจัดตั้งศูนย์ พ.ศ.2559
ลักษณะทางกายภาพ

      กว้าง10 เมตร ยาว 10 เมตร 
บริการของศูนย์
     หนังสือ/สื่อการเรียนรู้/การบริการอินเตอร์เน็ต wifi /การค้าออนไลน์ /
  หนังสือประวัติศาสตร์ชุมชน หมู่บ้าน วัด ประวัติปราสาทปรางค์กู่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แผนชุมชน ข้อมูลกลุ่มอาชีพ หนังสืองานวิจัยที่ชุมชนทำการวิจัยร่วมกับ สกว.

     กิจกรรม
 จัดอบรม คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น การค้าออนไลน์ การใช้งานดิจิทัลในยุคปัจจุบัน การรู้เท่าทันสื่อ การอบรมมัคคุเทศก์น้อย ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เป็นศูนย์บริการข้อมูลในระดับตำบล อำเภอ แหล่งจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านออนไลน์ จุดรับส่งหนังสือระดับตำบล 17 หมู่บ้าน ที่ประชุมงานของทุกหน่วยงาน (ขนาดเล็ก) แหล่งหาข้อมูล เรียน เขียน อ่าน ของนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ (เด็ก นศ. มาทำโครงงาน งานวิจัย)

     สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตไร้สาย ฯลฯ)

คอมพิวเตอร์ 16 เครื่อง อินเตอร์เน็ตwifiความเร็วสูง โต๊ะนั่งประชุมงาน

 “ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่ศูนย์ต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ


          ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่เริ่มตั้งมาเมื่อปี ๒๕๕๘  ตั้งอยู่ที่อาคารที่ทำการกำนันตำบลกู่ บ้านกู่ หมู่ ๑ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายทนงศักดิ์  นรดี  กำนันตำบลกู่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ และมีนายธนากร พรมลิ เป็นผู้จัดการศูนย์ ตามบทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  บทบาทสำคัญของศูนย์ฯแห่งนี้ อาทิ เปิดการเรียนการสอนการทำแฟนเพจเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า การอบรมการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการค้าขายออนไลน์ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ   และเป็นฐานข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้เด็กนักเรียนนักศึกษาได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอดเวลา   เพราะในชุมขนโดยรอบ มีทุนทางสังคมที่หลากหลาย นอกหนือจากการบริหารจัดการให้เด็กๆเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดูแลศูนย์ และร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในศูนย์แห่งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ ให้กับเด็กๆเยาวชน ไปสู่ประชาชนที่มาใช้บริการ จนได้รับการคัดเลือกให้ยกระดับเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนต้นแบบของจังหวัดศรีสะเกษ โดยการดูแลของสำนักงานสิถิติจังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี ร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์และได้ดำเนินการขยายผลโดยการจัดอบรมการใช้สมาร์ทโฟน การทำแฟนเพจเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า 

             “การสร้างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างแท้จริง เนื่องจากชุมชนแห่งนี้มีพื้นที่เหมาะสมกับการเปิดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ มีความตื่นตัวและตอบรับในการที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใช้ในการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ตลอดจนการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี


             ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลกู่  นับเป็นศูนย์ฯ ที่เกิดจากความร่วมมือตามแนวทางประชารัฐที่ร่วมดำเนินงานกันอย่างใกล้ชิด โดยการแบ่งภารกิจตามความสามารถและเหมาะสม เพื่อทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ที่สนใจเรียนรู้และเข้ามาร่วมกิจกรรมด้านอื่นๆ จนสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชุมชนในรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น