"ความทุกข์ดั่งน้ำในอวน ยกอวนขึ้นมาน้ำก็หาย"
เริ่มต้นวันใหม่ ใครที่มีทุกข์ ขอให้หมดทุกข์
ใครที่ยากจน ขอให้ร่ำรวยและใครเจ็บป่วย
ขอให้หายป่วย เร็วไว ปรารถนา ทำสิ่งใดๆ
และขอให้สมหวัง โดยฉับพลัน ด้วยเทอญ
"ความทุกข์ดั่งน้ำในอวน ยกอวนขึ้นมาน้ำก็หาย"
ขึ้น 14 ค่ำและ 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
การบิณฑบาต เป็นการโปรดญาติโยมให้ได้ทำบุญเป็นกุศล
ปัจจุบันการบิณฑบาตไม่ได้ยากลำบากมากมายเหมือนแต่ก่อน มีกำหนดเส้นทาง และมีญาติโยมมารอทำบุญแต่เช้าล่วงหน้า
นอกจากนั้นยังมีผลดีอื่นๆอีกเข่น สุขภาพดีขึ้นจากการเดินทุกวัน ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
และ ได้เจริญสติระหว่างบิณฑบาต
1.บิณฑบาต อ่านว่า บิน-ทะ-บาด เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ +ปาต
ปิณฺฑ แปลว่า ก้อนข้าว
ปาต แปลว่า การตก จึงมีความหมายว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว
2.โดยทั่วไปคำนี้หมายถึง
กิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่า การออกบิณฑบาต
การออกบิณพบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่า เป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่า การโปรดสัตว์
เพราะการออกบิณฑบาตนั้นเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังนั้นในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแกบรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้
สวนธนากร พอเพียงตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา สร้างความเข้มแข็งเรื่องอาหาร พืชผัก อันเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของครอบครัว มีข้าว มีปลา สามารถเลี้ยงดูคนในครัวครัวและชุมชนได้
สันติภาพลงดิน สันติภาพกินได้ สันติภาพตามกรอบของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ประกอบด้วย 4 ภาพ คือ สันติภาพเชิงกายภาพ สันติภาพเชิงพฤติภาพในชุมชนและสังคม สันติภาพเชิงจิตภาพ และสันติภาพเชิงปัญญาภาพ
ภาวะผู้กับทักษะการเสริมสร้างชุมชนและสังคมสันติสุข คือ พุทธกสิกรรมโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล
หลักธรรมในความเป็นจริง พุทธกสิกรรมสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็นจึงเป็นฐานของการชีวิตให้มีความสุข สุดท้ายจะมีการแบ่งปันการให้คนอื่นรวมถึงต่อยอดในการแปรรูปต่างๆ สร้างเครือข่ายให้เกิดพลัง
"ยังได้นำผลผลิตจากโคก หนอง นา ในพื้นที่ มาแบ่งปันให้ผู้อื่น เป็นการแสดงความเกื้อกูลและเอื้ออาทรจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้แก่ผู้ที่มีความเดือดร้อน เช่น พืชผักสวนครัว ไม้ผล ข้าวสารอาหารแห้ง และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ตามคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา” Our Loss is OurGain โดยพลังเครือข่ายแบบหลัก บวร. คือ บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ ซึ่งในอดีตสังคมไทยเราก็ใช้หลักการนี้ ในการเกื้อกูลและความมีน้ำใจต่อกัน เป็นตัวเชื่อม ให้เกิดความรู้รักสามัคคีขึ้นในชุมชนท้องถิ่น”
['ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเทศน์'] แก่ผู้เข้าอบรมศึกษาหลักสูตรวิชาการเทศนา ในโครงการอบรมหลักสูตรวิชาการเทศนา รุ่นที่ ๒๘ ปี ๒๕๖๖ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ณ หอประชุมสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยองค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาส ร่วมกับศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ข้าร่วมเรียนรู้“วัดต้นแบบ สร้างมาตรฐานดีเด่น”, “สถานศึกษาต้นแบบ บวร สวยด้วยมือเรา” และองค์กรภาคีความร่วมมือดำเนินงาน “โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข”
“สันติภาพทุกลมหายใจ คุณธรรมสัมผัสได้โลกร่มเย็น”
คุยงานสานต่อกับศูนย์คุณธรรม ที่เคยทำงานร่วมกันมา จังหวัดคุณธรรม,อำเภอคุณธรรมนำร่อง
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
นิสิต สันติศึกษา ป.โท รุ่น11 มจร.
"นำธรรมะสู่โรงเรียน"ด้วยสันติสุุข
เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2566 ที่ หอประชุมโรงเรียนวัดคฤหบดี(จันทรสถิตย์)พบ สำนักงานเขตบางพลัด กทม. นางจิตติยา โชทนากุล ผอ.โรงเรียน เป็นประธานเปิดโครงการอบรมคุณธรรมและจริยธรรม ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5ก.ย.2566 โดยมีพระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น ให้ความอนุเคราะห์พระวิทยากร ในการอบรมครั้งนี้ โดยมี พระธนากร ธมฺมธราโภ
พระสงฆ์นักเผยแผ่พระพุทธศาสนาวัดใหม่ยายแป้น
นิสิต ป.โท รุ่น11 หลักสูตรสันติศึกษา มจร. เป็นหัวหน้าพระวิทยากร และผู้เกี่ยวข้องร่วมในพิธี พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดคฤหบดี(จันทรสถิตย์)ชั้นประถมศึกษาปีที่1- 6 รวม 70 คน เข้ารับการอบ
ด้านพระธนากร ธมฺมธราโภ หัวหน้าพระวิทยากรกล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้นักเรียนได้ใช้หลักธรรมเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้พัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรมจริยธรรม และได้นำหลักสันติศึกษา มาอบรมให้เด็กนักเรียนมีความรับผิดชอบรู้จักพึ่งพาตนเอง และให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ในสภาวะปัจจุบัน พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม วัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเกิดสันติสุขในสังคม ประเทศชาติต่อไป
ชาวกูยบ้านกู่ ศรีสะเกษ ร่วมงาน ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2566 เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2566
ชุมชนม่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูยบ้านกู่ ได้นำผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดศรีสะเกษ เช่น ผ้าทอไหมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่น จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น OTOP จังหวัดศรีสะเกษ สาธิตมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ในบรรยากาศบรรยากาศ มหัศจรรย์เมืองศรี สีสันเมืองดอกลำดวน สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการ OTOP เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ในการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สมดังคำว่า “อะไร ๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ”