วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ใช้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมและความสุข ก่อเกิดให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้คนมีความสุขอย่างแท้จริง
การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสมดุลหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันในระหว่างมิติต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนวิธีการพัฒนา โดยหันมาใช้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563
การสาวหลอก ของชาวกูยบ้านกู่
การสาวหลอก ของชาวกูยบ้านกู่
พิธีกรรม “แกล มอ” ของชาวกูย บ้านกู่
“แกลมอ” ของชาวกูยบ้านกู่ ความเชื่อของคนโบราณของชุมชน ชาวกูย เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมีการไปดูหมอทรงบางคนหมอทรงเข้าทรงดูแล้วบอกว่ามีวิญญาณของบรรพบุรุษ หรือเจ้าที่เจ้าทางมาทำให้ร่างกายเจ็บป่วยจะต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ไปขอขมาลาโทษ อาการเจ็บป่วยก็หายไปหรือบางคนหมอทรงบอกว่าต้องเล่นมอหรือ “แกลมอ” แก้บนจึงจะหาย
มีหลายรายที่ไปดูทรงแล้วแต่ยังไม่สามารถเล่นได้ทันที ก็มีการบนหรือ “บะแบ๋น” เอาไว้ก่อน
พร้อมเมื่อไหร่ก็จะเล่นถวายให้ มีหลายรายที่ไม่ยอมเชื่อก็มีอันเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆนาๆ
“แกลมอ” เป็นภาษากูย คำว่า แกล คือ เล่น และคำว่า มอ คือ
ผีบรรพบุรุษ ก่อนที่จะเล่นมีการไปบอกกล่าวญาติ
พี่น้องและเชิญทายาทที่ได้รับการถ่ายทอดการ “แกลมอ” จากบรรพบุรุษมาร่วมด้วย
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563
แกงเทาหรือแกงสาหร่ายน้ำจืด ชาวกูยบ้านกู่
แกงเทาหรือแกงสาหร่ายน้ำจืด เทาเป็นพืชในตระกูลสาหร่าย จับตัวกันเป็นก้อนๆ อยู่ใต้ ก้นสระน้ำที่มีน้ำค้างปี ซึ่งคนในชุมชนมักนิยมนำเทามาแกงรับประทานในช่วงมีการลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว นิยมรับประทานขณะร้อนๆ
ส่วนประกอบแกงเทาที่สำคัญมีดังนี้
1. เทา 2. ปลาซิว 3. พริกแห้ง 4. หอมแดง
5. มะเขือ 6. ข้าวคั่ว 7. เกลือ
มีขั้นตอนวิธีทำ ดังนี้
1. ตั้งหม้อให้น้ำเดือด
2. ใส่เครื่องปรุงที่เตรียมไว้ให้ครบ แล้วชิมรสดูว่าพอใจหรือยัง
3. นำเทาที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อ
4. ใส่ปลาซิวลงไป ทิ้งไว้สักพัก แล้วยกหม้อแกงลง รับประทานได้
ขนมโบราณชาวกูย ขนมไปรกะซัง
ขนมโบราณชาวกูย ขนมไปรกะซัง
ส่วนผสม
คือ มะพร้าว แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า เกลือ น้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำเปล่า
น้ำมันพืช
วิธีทำ
คือ นำมะพร้าวที่ห่ามๆ ยังไม่แก่มาก เพราะจะมีความหวาน อร่อย
คัดเอาลูกที่เปลือกเริ่มแห้ง เอามาปลอกเปลือกแล้วขูดเป็นเส้นๆ เพื่อทำเป็นไส้ขนม
เมื่อขูดเสร็จแล้วก็นำเนื้อมะพร้าวที่ได้ไปเคี่ยวกับเกลือและน้ำตาล เตรียมไว้ จากนั้นนำแป้งข้าวเหนียวมาเทใส่ภาชนะและใช้แป้งข้าวเจ้าผสมลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เพิ่มความกรอบ
เทน้ำเชื่อมและน้ำเปล่าผสมลงไปแล้วนวดแป้งให้เข้ากันจนนิ่ม
แล้วปั้นแป้งที่นวดได้เป็นลูกกลมๆ จากนั้นก็เป็นการใส่ไส้ขนม
โดยการนำแป้งที่ปั้นเตรียมไว้ มาตีบนฝ่ามือให้แป้งมีลักษณะแบนๆ
แล้วก็นำมะพร้าวที่เคี่ยวเตรียมไว้แล้วมาใส่ตรงกลางแล้วก็ใช้เนื้อแป้งห่อให้หุ้มเนื้อมะพร้าวให้มิดชิด
แล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ อีกครั้ง
เมื่อทำเสร็จตามปริมาณที่ต้องการก็นำแป้งที่ใส่ไส้เรียบร้อยแล้วลงไปทอดในน้ำมันที่ร้อน
ทอดจนกรอบ สังเกตว่าแป้งเริ่มมีสีเหลืองอ่อนๆ ก็ตักออก แล้วรอให้อุ่นๆ จากนั้นนำก้านมะพร้าวมาร้อยขนมที่ทอดเสร็จแล้ว
ก้านละประมาณ 4-5 ลูก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
การประดิษฐ์ดอกลำดวนจากรังไหม ของชุมชนชาวกูยบ้านกู่
การประดิษฐ์ดอกลำดวนจากรังไหม ของชุมชนชาวกูยบ้านกู่
ดอกลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง
กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก
ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน การประดิษฐ์ดอกลำดวนเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดรายได้
โดยในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านจะติดดอกลำดวนให้นักท่องเที่ยวที่หน้าอก
นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถประดิษฐ์เองและนำกลับไปเป็นของที่ระลึกและฝากญาติและเพื่อนได้
1)
รังไหม
2)
ลวด
3)
กระดาษสาสีเขียว
4)
ด้าย
ขั้นตอนและวิธีการทำ
1)
นำรังไหม 3 ชิ้น มาบีบแต่งเป็นครึ่งรัง
และนำมาประกบหันหน้าเข้าหากัน รัดด้วยด้ายให้แน่น
2)
นำรังไหมอีกมา 3 ชิ้น มาบีบแต่งให้คล้ายกลีบดอกลำดวน แล้วนำไปมัดรวมกันกับกลุ่มแรกทีละชิ้น
จากข้อ 1)
และ 2) จะได้ดอกลำดวน 1 ดอก ทำซ้ำอีก 2-3 ดอก
3)
นำกระดาษสามาพันลวดที่เตรียมไว้
ความยาวประมาณ 2 นิ้ว
4)
นำดอกลำดวนที่ได้มามัดเข้ากับก้านลวดที่เตรียมไว้
ให้ได้ประมาณ 3-4
ดอก
จากข้อ
3) และ 4) จะได้ดอกลำดวน 1 ช่อ จัดแต่งให้สวยงาม
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563
รับรางวัล"วัฒนคุณาธร" ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ปี๒๕๖๓
นายธนากร พรมลิ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติรับรางวัล "วัฒนคุณาธร" ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.2563 โดยเข้ารับโล่เชิดชูเกียรติจากนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา
สำหรับ รางวัล “วัฒนคุณาธร” กระทรวงวัฒนธรรม โดยกองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติภาคีเครือข่ายภาคประชาชนทั้งเด็กหรือเยาวชน บุคคล รวมทั้ง นิติบุคคลหรือคณะบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ ถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเทต่อการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจนประสบผลสำเร็จตามภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรมผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรมจะได้รับโล่รางวัล “วัฒนคุณาธร” จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมและชุมชนคุณธรรมบ้านกู่ โดยนายทนงศักดิ์ นรดี กำนันตำบลกู่ ผู้นำชุมชน ได้เข้ารับรางวัล "วัฒนคุณาธร" ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.2563 ด้วย
การเรียนรู้ นอกห้องเรียนจะสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ด้านการเรียนรู้
เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่พาผู้เรียนมาศึกษาในชุมชน เพื่อแสวงหาคำตอบจากประสบการณ์ตรงและสถานที่จริง โดยมีวิทยากรชาวบ้านเป็นผู้ให้ความรู้ การพาผู้เรียนไปนอกสถานที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสังคม ให้รู้จักรับผิดชอบต่อชุมชน ต่อตนเอง ส่งเสริมการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เร้าความสนใจให้แก่ผู้เรียน
การศึกษานอกสถานที่ถือเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่ามาก
เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ตรง
สามารถเกิดเจตคติที่พึงประสงค์ ปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักหวงแหน ภาคภูมิใจ
รักและห่วงใยต่อชุมชน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดได้ยากหากผู้เรียนเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน
มาเรียนรู้ชุมชน สังคม ตั้งโจทย์ไปสร้างแรงบันดาลใจ เขาจะไปทำอะไร และเมื่อจบมา