ขั้นตอนการผลิต
๑.
นำตัวหม่อนมาวางใส่กระด้งให้พอดีกับกระด้ง ไม่เบียดกันเกินไป เลี้ยงโดยให้ใบหม่อน ๑ กำมือ ต่อ ๑ กระด้ง
จนตัวหม่อนลากคราบครั้งที่ ๑
ให้เพิ่มใบหม่อน ประมาณ ๒ กำมือ
ตัวหม่อนลากคราบครั้งที่ ๒ ให้เพิ่มใบหม่อน ประมาณ ๓ กำมือ
ตัวหม่อนลอกคราบครั้งที่ ๓
ให้เพิ่มใบหม่อน ประมาณ ๔ กำมือ
ในช่วงที่ตัวหม่อนลอกคราบจะต้องหยุดให้อาหาร ๒๔
ชั่วโมงหลักจากนั้นก็ให้อาหารตามปกติ เมื่อตัวหม่อนลอกคราบครั้งที่ ๔ ก็ให้ใบหม่อนต่อไปเรื่อยๆจนตัวหม่อนสุก
หลังจากนั้นให้คัดตัวหม่อนที่สุกแล้วไปใส่ไว้ในจ่อ ในช่วงนี้ให้หยุดการให้ใบหม่อนเพื่อจะได้ให้ตัวหม่อนรีบทำฝักและทำรัง
เมื่อตัวหม่อนเข้าไปอยู่ในฝักราว 3 วันตัวหม่อนก็จะยุบตัวเล็กลงเรียกว่า
ตัวดักแด้ ลองจับฝักเขย่าดูปรากฏว่ามีเสียงดังขลุก ๆ อยู่ภายในแล้วแสดงว่าใช้ได้
๒.
นำรังไหมที่ได้มาสาวเป็นเส้นไหม
โดยการต้มน้ำให้เดือนก่อน
แล้วนำรังไหมใส่ลงในหม้อต้มประมาณ ๓๐ นาที โดยให้คนประมาณ ๒-๓ ครั้ง เพื่อให้รังไหมสุกทั่วกัน แล้วเอาไม้ขืนชะรังไหมเบาๆ เส้นไหมก็จะติดกับไม้ขืนขั้นมา
จึงนำมาสอดที่รูตรงกลางของเครื่องพวงสาว แล้วนำไปถักเกรียวที่รอกพวงสาวให้เส้นไหมตรง
และสาวให้พ้นรอก ๑ รอบ เวลาสาวไหม
จะใช้มือทั้งสองข้าง
โดยมือหนึ่งจะสาวไหมจากรอกลงใส่กระบุงหรือตะกร้ารองรับเส้นไหม
ส่วนอีกมือหนึ่งถือไม้ขืน เพื่อกดและเขย่ารังไหมที่อยู่ในหม้อเพื่อจะได้เส้นไหมที่สม่ำเสมอและสวยงาม การสาวไหมนั้นต้องหมั่นเติมน้ำเย็นลงไปเป็นระยะระวังอย่าให้น้ำถึงกับเดือด
เพราะจะทำให้เส้นไหมไม่สวย รังไหมจะเละ หลังจากที่สาวไหมหมดแล้ว นำเส้นไหมมาเข้าเครื่องเล่งเพื่อทำเป็นใจ
แล้วตากให้แห้ง
๓.
หลังจากได้เส้นไหมที่แห้งแล้ว ให้นำมาฟอก
โดยนำเส้นไหมลงแช่ในดั่งจนไหมนิ่ม แล้วนำลงต้มในน้ำเดือน ประมาณ ๓๐
นาที จึงนำไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด
และนำไปตากแดดให้แห้งเส้นไหมที่ฟอกแล้วจะนิ่ม และเงางาม
๖.
นำเส้นไหมที่ฟอกแล้วมาย้อมมะเกลือ โดยนำลูกมะเกลือที่ไม่สุก มาตำให้ละเอียด
แล้วใส่ใบมันเทศลงไปตำด้วยกันจนละเอียด นำมะเกลือที่ตำแล้วไปผสมกับน้ำ ในอัตรา
มะเกลือ ๑ ส่วน ต่อน้ำ ๒ ส่วน
น้ำที่จะผสมกับมะเกลือให้ละลายปูนขาวที่ใช้เคี้ยวหมาก ก้อนประมาณนิ้วหัวแม่มือ
เมื่อส่วนผสมเข้ากันแล้ว ให้นำไหมลงย้อมในน้ำมะเกลือ แล้วนำขึ้นไปตากให้แห้ง และนำมาย้อมใหม่ตามวิธีเดิม
จนกว่าจะได้สีดำตามที่ต้องการ เมื่อย้อมจนได้สีตามที่ต้องการแล้ว
ให้นำไปหมักในน้ำโคลน เพื่อให้สีติดทนนาน แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง หลังจากนั้นให้นำมาล้างน้ำสะอาดจนหมดโคลน
แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ ๑๕ นาที
แล้วนำผ้าไปตากแดดจนแห้ง เสร็จแล้วก็จะได้เส้นไหมย้อมมะเกลือ สีดำ สวยงาม
๔. นำไหมที่ย้อมแล้วมาเดินเส้นยืน
โดยนำมาใส่กง ปั่นเข้าอัก เสร็จแล้วนำมาเดินเส้นยืนใส่หลักเผือ ตามขนาดของฟันฟืม
เสร็จแล้วนำไปขึงกับไม้ฟันเส้นยืน เพื่อให้เส้นยืนตึง สม่ำเสมอ แล้วนำมาต่อเข้าฟืม
ในการต่อเข้าฟืมต้องใช้คนทำ ๒ คน เนื่องจากต้องมีคนสอดเส้นไหม และคนแหวกฟันฟืม หลังจากที่ต่อเข้าฟืมแล้วให้ นำมาเก็บเข้าตะกรอสำหรับทอตามขนาดดอกที่ต้องการ
๔ หรือ ๕ ตะกรอ
๕
นำไหมที่ย้อมแล้วมาเตรียมเส้นพุ่ง
โดยนำอักไหมมาใส่ในหลา เพื่อปั่นใส่หลอดพอประมาณ ก็จะได้เส้นไหมในหลอดเตรียมใส่กระสวยสำหรับใช้ในการทอ
๖.
เมื่อได้ไหมที่เดินเส้นยืนและเส้นพุ่งแล้ว ก็เข้าสู่การทอ
วิธีการทำเริ่มแรกให้เหยียบไม้เท้า ครั้งที่ ๑ ให้เหยียบไม้ที่ ๑และ๒ พร้อมกัน
นับจากด้านซ้าย แล้วสอดกระสวย ในการสอดกระสวยครั้งแรก ให้จับเส้นด้ายฝั่งที่สอดกระสวยไว้
เพื่อยึดเส้นด้าย
หลังจากที่สอดกระสวยพ้นแล้วให้ดังเส้นไหมให้ดึงแล้วปล่อยเท้าที่เหยียบไม้เท้าออก
แล้วกระทบฟืม ๑ ถึง ๒ ครั้ง
ครั้งที่สองเหยียบไม้ที่ ๓ ๔ ๕ พร้อมกัน แล้วสอดกระสวย กระทบฟืมเหมือนเดิม ครั้งที่สามเหยียบไม้ที่ ๑ ๓ พร้อมกัน แล้วสอดกระสวย
กระทบฟืม ครั้งที่ ๔ เหยียบไม้ที่ ๒ ๔ ๕
พร้อมกัน แล้วสอดกระสวย กระทบฟืม
ครั้งที่ห้า เหยียบไม้ที่ ๑ ๒ ๔พร้อมกัน
ครั้งที่หก เหยียบไม้ที่ ๓ ๕ พร้อมกัน
ครั้งที่เจ็ด เหยียบไม้ ๑ ๒ ๔ พร้อมกัน
ครั้งที่แปด เหยียบไม้ที่ ๓ ๕ พร้อมกัน เมื่อครบเจ็ดครั้ง
จะได้ลวดลายออกมาเป็นลายลูกแก้ว
และให้ทอโดยการเหยียบไม้ซ้ำเหมือนเดิมตั้งแต่ครั้งที่หนึ่งถึงเจ็ด จนไหมหมด
ก็จะได้ผ้าไหมย้อมมะเกลือลายลูกแก้วที่มีสีดำ เงางาม สีไม่ตก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น