หมู่บ้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์
บ้านกู่ ชุมชนชาวกูยบ้านกู่
ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
“เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นชุมชนแห่งการพัฒนา
และเป็นชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”บ้านกู่เป็นหมู่บ้านที่มีการก่อตั้งมาช้านานเป็นระยะเวลาประมาณเกือบสามร้อยกว่าปี
(ประมาณเอาจากพุทธศักราช ที่ก่อตั้งวัดบ้านกู่) จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ชุมชนชาวกูยบ้านกู่ได้อพยพมาจากบ้านอาเลา
ไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจากอำเภออะไร ผู้ที่อพยพมาก่อตั้งเป็นคนแรกคือ “ตาโก”
เนื่องจากทำเลของหมู่บ้านอยู่ติดสระน้ำหรือสระกู่ พื้นที่เป็นเนินสูง
สภาพรอบหมู่บ้านมีเนินดินคล้ายกำแพงกั้นเรียกว่า “คูเมือง” เหมาะแก่การตั้งรกรากที่อยู่อาศัย
สภาพภายในหมู่บ้าน การปลูกสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยจะปลูกลักษณะติดกันเหมือนเป็นการเกาะกลุ่มกันอยู่
บ้านแต่ละหลัง หลังคาบ้านแทบจะซ้อนกันก็มี
ตรอก/ซอยหรือทางเดินแต่ละซอยกว้างประมาณ ๒.๕๐
เมตร แค่เกวียนผ่านเข้าออกได้
หรือให้วัวควายเดินเข้าคอกได้ก็พอ
ซึ่งคนโบราณมักจะทำคอกวัวคอกควายไว้ใต้ถุนบ้านและเนินดินที่คล้ายกำแพงหมู่บ้านจะอยู่รอบนอก
การทำนาแต่ก่อนนั้นต้องใช้ควายไถและได้ขี้ควายใช้เป็นปุ๋ยคอกอย่างดีไปใส่นาข้าว ชาวกูยบ้านกู่ทุกหลังคาเรือนจึงต้องมีควายไว้ใช้งาน
“ตาโก” จึงเป็นคนกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากและสืบทอดลูกหลานมาจนถึงปัจจุบัน และมีวัดบ้านกู่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
เมื่อชุมชนขยายเพิ่มมากขึ้น
ลูกหลานจึงได้แยกครัวเรือนออกไปอยู่ตามหัวไร่ปลายนา
“
ปรางค์กู่คู่บ้าน สระกู่คู่เมือง ลือเลื่องวัฒนธรรม
เลิศล้ำสามัคคี
มีวงมโหรี ผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ ของดีหลวงปู่งาม”
มีวงมโหรี ผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ ของดีหลวงปู่งาม”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น